โฟกัสอัตโนมัติ
หากต้องการใช้โฟกัสอัตโนมัติ ให้หมุนตัวเลือกโหมดโฟกัสไปที่ AF
โหมดโฟกัสอัตโนมัติ
สามารถเลือกโหมดโฟกัสอัตโนมัติต่อไปนี้ขณะถ่ายภาพโดยใช้ช่องมองภาพ:
สามารถเลือกโหมดโฟกัสอัตโนมัติต่อไปนี้ระหว่างไลฟ์วิว:
โหมดโฟกัสอัตโนมัติสามารถเลือกได้โดยกดปุ่มโหมด AF และหมุนแป้นหมุนเลือกคำสั่งหลักจนกระทั่งการตั้งค่าที่ต้องการปรากฏขึ้น
โฟกัสติดตามวัตถุล่วงหน้า (การถ่ายภาพโดยใช้ช่องมองภาพ)
ในโหมด AF-C หรือเมื่อเลือกโฟกัสอัตโนมัติต่อเนื่องไว้ในโหมด AF-A กล้องจะเริ่มการโฟกัสติดตามวัตถุล่วงหน้าถ้าวัตถุเคลื่อนเข้าหาหรือออกจากกล้องขณะกดปุ่มกดชัตเตอร์ลงครึ่งหนึ่ง ซึ่งจะช่วยให้กล้องสามารถติดตามระยะโฟกัสขณะพยายามคาดเดาว่าวัตถุจะอยู่ตรงจุดใดเมื่อลั่นชัตเตอร์
โปรดอ่าน
สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับ:
- การใช้เน้นโฟกัสใน AF ต่อเนื่อง ให้ดู A > การตั้งค่าแบบกำหนดเอง a1 (เลือกสิ่งที่สำคัญเมื่อใช้ AF-C, 0 เลือกสิ่งที่สำคัญเมื่อใช้ AF-C)
- การใช้เน้นการลั่นชัตเตอร์ใน AF ทีละภาพ ให้ดู A > การตั้งค่าแบบกำหนดเอง a2 (เลือกสิ่งที่สำคัญเมื่อใช้ AF-S, 0 เลือกสิ่งที่สำคัญเมื่อใช้ AF-S)
- การใช้แป้นหมุนเลือกคำสั่งย่อยเพื่อเลือกโหมดโฟกัส ให้ดู A > การตั้งค่าแบบกำหนดเอง f3 (แป้นหมุนเลือกคำสั่ง) > สลับหลัก/รอง (0 แป้นหมุนเลือกคำสั่ง)
โหมดพื้นที่ AF
โหมดพื้นที่ AF จะควบคุมวิธีที่กล้องเลือกจุดโฟกัสสำหรับโหมดโฟกัสอัตโนมัติ มีตัวเลือกต่อไปนี้ให้เลือกใช้ระหว่างการถ่ายภาพโดยใช้ช่องมองภาพ:
- AF จุดเดียว: เลือกจุดโฟกัส กล้องจะโฟกัสวัตถุในจุดโฟกัสที่เลือกเท่านั้น ใช้กับวัตถุที่อยู่นิ่งกับที่
-
AF แบบปรับเปลี่ยนพื้นที่โฟกัส: เลือกจุดโฟกัส ในโหมดโฟกัส AF-A และ AF-C กล้องจะโฟกัสโดยอาศัยข้อมูลจากจุดโฟกัสที่อยู่รอบๆ ถ้าวัตถุเคลื่อนออกจากจุดที่เลือกเป็นเวลาสั้นๆ จำนวนจุดโฟกัสจะแตกต่างกันตามโหมดที่เลือก:
- AF แบบปรับเปลี่ยนพื้นที่โฟกัส 9 จุด: เลือกเมื่อมีเวลาจัดองค์ประกอบภาพหรือเมื่อถ่ายภาพวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ในรูปแบบที่คาดเดาได้ (เช่น นักวิ่งหรือรถแข่งที่กำลังแข่งขัน)
- AF แบบปรับเปลี่ยนพื้นที่โฟกัส 21 จุด: เลือกเมื่อถ่ายภาพวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ในรูปแบบที่คาดเดาไม่ได้ (เช่น นักกีฬาฟุตบอล)
- AF แบบปรับเปลี่ยนพื้นที่โฟกัส 51 จุด: เลือกเมื่อถ่ายภาพวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วและไม่สามารถจัดองค์ประกอบภาพผ่านช่องมองภาพได้อย่างง่ายดาย (เช่น นก)
-
การติดตามระยะโฟกัส 3 มิติ: เลือกจุดโฟกัส ในโหมดโฟกัส AF-A และ AF-C กล้องจะติดตามวัตถุที่เคลื่อนออกจากจุดโฟกัสที่เลือก และเลือกจุดโฟกัสใหม่ตามต้องการ ใช้เพื่อจัดองค์ประกอบภาพอย่างรวดเร็วเมื่อวัตถุเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วจากข้างหนึ่งไปอีกข้างหนึ่ง (เช่น นักกีฬาเทนนิส) ถ้าวัตถุเคลื่อนออกจากช่องมองภาพ ให้ยกนิ้วออกจากปุ่มกดชัตเตอร์แล้วจัดองค์ประกอบภาพใหม่โดยให้วัตถุอยู่ในจุดโฟกัสที่เลือก
- AF แบบเลือกพื้นที่โฟกัสเป็นกลุ่ม: กล้องจะโฟกัสโดยใช้กลุ่มจุดโฟกัสที่ผู้ใช้เลือก เพื่อลดความเสี่ยงของกล้องในการโฟกัสที่พื้นหลังแทนที่จะโฟกัสวัตถุหลัก เลือกสำหรับวัตถุที่ยากในการถ่ายภาพโดยใช้จุดโฟกัสเดียว หากกล้องจับภาพใบหน้าได้ในโหมด AF ทีละภาพ (เลือก AF-S หรือ AF ทีละภาพใน AF-A) กล้องจะเน้นไปที่วัตถุภาพบุคคล
AF แบบเลือกพื้นที่โฟกัสอัตโนมัติ: กล้องจะตรวจหาวัตถุโดยอัตโนมัติแล้วเลือกจุดโฟกัส (ในกรณีที่วัตถุเป็นคน กล้องจะสามารถแยกความแตกต่างของวัตถุออกจากพื้นหลังได้เพื่อการตรวจหาวัตถุที่ดีขึ้น) จุดโฟกัสที่ใช้จะถูกไฮไลท์เป็นเวลาสั้นๆ หลังจากกล้องโฟกัสภาพแล้ว; ในโหมด AF-C และ AF-A จุดโฟกัสหลักจะยังคงถูกไฮไลท์อยู่หลังจากปิดจุดโฟกัสอื่นๆ ไปแล้ว
การติดตามระยะโฟกัส 3 มิติ
เมื่อกดปุ่มกดชัตเตอร์ลงครึ่งหนึ่ง สีในบริเวณรอบๆ จุดโฟกัสจะถูกบันทึกลงในกล้อง ด้วยเหตุนี้ การติดตามระยะโฟกัส 3 มิติจึงอาจได้ผลลัพธ์ไม่ตรงตามต้องการเมื่อวัตถุมีสีที่คล้ายกับสีพื้นหลังหรือครอบครองพื้นที่เป็นสัดส่วนเล็กๆ ของกรอบภาพ
โหมดพื้นที่ AF ต่อไปนี้สามารถเลือกใช้ระหว่างไลฟ์วิวได้:
! AF ที่ใบหน้า: ใช้สำหรับถ่ายภาพบุคคล กล้องจะตรวจหาและโฟกัสวัตถุภาพบุคคลโดยอัตโนมัติ วัตถุที่เลือกไว้จะมีเส้นขอบคู่สีเหลืองล้อมรอบ (หากกล้องตรวจพบหลายใบหน้า กล้องจะโฟกัสวัตถุที่อยู่ใกล้ที่สุด หากท่านต้องการเลือกวัตถุอื่น ให้ใช้ปุ่มเลือกคำสั่ง) หากกล้องไม่สามารถตรวจหาวัตถุได้ต่อไป (ตัวอย่างเช่น ในกรณีที่วัตถุเบือนหน้าออกจากกล้อง) เส้นขอบจะหายไปจากหน้าจอ หากคุณสัมผัสหน้าจอ กล้องจะโฟกัสบนใบหน้าที่ใกล้กับนิ้วของคุณแล้วถ่ายภาพเมื่อคุณยกนิ้วออกจากหน้าจอ
$ AF พื้นที่กว้าง: ใช้สำหรับการถ่ายภาพทิวทัศน์โดยใช้มือถือกล้องและใช้กับวัตถุอื่นๆ ที่ไม่ใช่ภาพบุคคล
% AF พื้นที่ปกติ: ใช้สำหรับระบุโฟกัสอย่างแม่นยำบนตำแหน่งที่เลือกในกรอบภาพ แนะนำให้ใช้ขาตั้งกล้อง
& AF ติดตามวัตถุ: ใช้ปุ่มเลือกคำสั่งเพื่อจัดตำแหน่งจุดโฟกัสที่ด้านบนวัตถุของท่าน แล้วกด J เพื่อเริ่มติดตาม จุดโฟกัสจะติดตามวัตถุที่เลือกขณะที่วัตถุเคลื่อนที่ภายในกรอบภาพ หากต้องการหยุดการติดตาม ให้กด J อีกครั้ง หรือ คุณสามารถเริ่มต้นติดตามโดยการแตะแบบวัตถุบนจอภาพ หากต้องการหยุดการติดตามและถ่ายภาพ ให้ยกนิ้วออกจากหน้าจอ หากการติดตามอยู่ระหว่างการดำเนินการแล้ว การสัมผัสที่ใดก็ได้บนจอภาพจะทำให้กล้องโฟกัสไปที่วัตถุปัจจุบัน และจะถ่ายภาพเมื่อคุณยกนิ้วของคุณออกจากหน้าจอ โปรดทราบว่ากล้องอาจไม่สามารถติดตามวัตถุได้หากวัตถุนั้นเคลื่อนที่อย่างรวดเร็ว หลุดออกนอกกรอบภาพหรือมีวัตถุอื่นบดบัง เปลี่ยนขนาด สีหรือความสว่างในสายตาที่มองเห็น หรือเล็กเกินไป ใหญ่เกินไป สว่างจ้าเกินไป มืดเกินไป หรือกลมกลืนกับสีหรือความสว่างของพื้นหลัง
การเลือกจุดโฟกัสแบบแมนวล
ใช้ปุ่มเลือกคำสั่งเพื่อเลือกจุดโฟกัสได้ การหมุนล็อคตัวเลือกจุดโฟกัสไปที่ L จะปิดการใช้งานการเลือกจุดโฟกัสแบบแมนวล
โหมดพื้นที่ AF สามารถเลือกได้โดยกดปุ่มโหมด AF และหมุนแป้นหมุนเลือกคำสั่งย่อยจนกระทั่งการตั้งค่าที่ต้องการปรากฏขึ้น
โหมดพื้นที่ AF (การถ่ายภาพโดยใช้ช่องมองภาพ)
โหมดพื้นที่ AF จะแสดงในแผงควบคุมและช่องมองภาพ
โหมดพื้นที่ AF | แผงควบคุม | ช่องมองภาพ | จอแสดงผลจุดโฟกัสช่องมองภาพ |
---|---|---|---|
AF จุดเดียว | |||
AF แบบปรับเปลี่ยนพื้นที่โฟกัส 9 จุด * | |||
AF แบบปรับเปลี่ยนพื้นที่โฟกัส 21 จุด * | |||
AF แบบปรับเปลี่ยนพื้นที่โฟกัส 51 จุด * | |||
ติดตามระยะโฟกัส 3 มิติ | |||
AF แบบเลือกพื้นที่โฟกัสเป็นกลุ่ม | |||
AF แบบเลือกพื้นที่โฟกัสอัตโนมัติ |
กล้องจะแสดงเฉพาะจุดโฟกัสที่ใช้อยู่เท่านั้นในช่องมองภาพ จุดโฟกัสที่เหลือจะให้ข้อมูลเพื่อช่วยในการโฟกัส
เทเลคอนเวอร์เตอร์ AF-S/AF-I (การถ่ายภาพโดยใช้ช่องมองภาพ)
หากเลือกการติดตามระยะโฟกัส 3 มิติหรือ AF แบบเลือกพื้นที่โฟกัสอัตโนมัติสำหรับโหมดพื้นที่ AF เมื่อใช้เทเลคอนเวอร์เตอร์ AF-S/AF-I กล้องจะเลือก AF จุดเดียวโดยอัตโนมัติที่ค่ารูรับแสงที่ช้ากว่า f/5.6
การใช้โฟกัสอัตโนมัติในไลฟ์วิว
ใช้เลนส์ AF-S หรือ AF-P หากใช้เลนส์ชนิดอื่นๆ หรือใช้เทเลคอนเวอร์เตอร์อาจไม่ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ โปรดทราบว่าในไลฟ์วิวนั้น โฟกัสอัตโนมัติจะช้าลงและจอภาพอาจสว่างขึ้นหรือมืดลงได้ขณะที่กล้องโฟกัสภาพ บางกรณี จุดโฟกัสอาจปรากฏเป็นสีเขียวเมื่อกล้องไม่สามารถโฟกัสได้ กล้องอาจไม่สามารถโฟกัสภาพได้เมื่ออยู่ในสถานการณ์ต่อไปนี้:
- วัตถุมีเส้นที่ขนานกับเส้นขอบด้านยาวของกรอบภาพ
- วัตถุไม่มีคอนทราสต์
- วัตถุที่จุดโฟกัสมีพื้นที่ที่มีความสว่างซึ่งมีคอนทราสต์สูง หรือรวมแสงสปอตไลท์หรือป้ายนีออนหรือแหล่งกำเนิดแสงอื่นๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงความสว่าง
- มีการกะพริบถี่หรือแถบเมื่อถ่ายภาพใต้แสงจากหลอดฟลูออเรสเซนต์ หลอดไอปรอท หลอดไอโซเดียม หรือแสงในลักษณะคล้ายกันนี้
- มีการใช้ฟิลเตอร์แฉก (ประกายดาว) หรือฟิลเตอร์พิเศษอื่นๆ
- วัตถุเล็กกว่าจุดโฟกัส
- วัตถุที่ต้องการถ่ายมีรูปทรงเรขาคณิตสม่ำเสมอข่มอยู่ (เช่น มู่ลี่หรือบานหน้าต่างที่เรียงติดกันเป็นแถวบนตึกสูง)
- วัตถุเคลื่อนที่
การเลือกจุดโฟกัส
ยกเว้นใน AF ติดตามวัตถุ การกด J ระหว่างการเลือกจุดโฟกัสจะทำให้เลือกจุดโฟกัสกึ่งกลาง ใน AF ติดตามวัตถุ การกด J จะเริ่มติดตามวัตถุแทน การเลือกจุดโฟกัสแบบแมนวลใช้ไม่ได้ใน AF แบบเลือกพื้นที่อัตโนมัติ
โปรดอ่าน
การถ่ายภาพโดยใช้ช่องมองภาพ—สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับ:
- การเลือกจำนวนจุดโฟกัสที่สามารถเลือกได้โดยใช้ปุ่มเลือกคำสั่ง ให้ดู A > การตั้งค่าแบบกำหนดเอง a4 (จำนวนจุดโฟกัส, 0 จำนวนจุดโฟกัส)
- การเลือกจุดโฟกัสตามภาพแนวตั้งและแนวนอน ให้ดู A > การตั้งค่าแบบกำหนดเอง a5 (บันทึกจุดโฟกัสตามการหมุนกล้อง, 0 บันทึกจุดโฟกัสตามการหมุนกล้อง)
- การตั้งค่าการเลือกจุดโฟกัสเป็น “วนรอบ” ให้ดู A > การตั้งค่าแบบกำหนดเอง a7 (จุดโฟกัสแบบวนรอบ, 0 จุดโฟกัสแบบวนรอบ)
การถ่ายภาพโดยใช้ช่องมองภาพ/ไลฟ์วิว: สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับการใช้แป้นหมุนเลือกคำสั่งหลักเพื่อเลือกโหมดพื้นที่ AF ให้ดู A > การตั้งค่าแบบกำหนดเอง f3 (แป้นหมุนเลือกคำสั่ง) > สลับหลัก/รอง (0 แป้นหมุนเลือกคำสั่ง)
การล็อคโฟกัส
สามารถใช้การล็อคโฟกัสเพื่อเปลี่ยนการจัดองค์ประกอบภาพหลังจากโฟกัสแล้ว ทำให้สามารถโฟกัสวัตถุที่จะไม่อยู่ที่จุดโฟกัสในการถ่ายจริงได้ ถ้ากล้องไม่สามารถโฟกัสด้วยโฟกัสอัตโนมัติ (0 การใช้โฟกัสอัตโนมัติให้ได้ผลดี) ท่านสามารถใช้การล็อคโฟกัสเพื่อจัดองค์ประกอบภาพถ่ายใหม่หลังจากโฟกัสวัตถุอื่นที่อยู่ในระยะห่างเท่ากันกับวัตถุเดิมของท่านได้ การล็อคโฟกัสจะให้ผลดีที่สุดเมื่อเลือกตัวเลือกใดๆ นอกเหนือจาก AF แบบเลือกพื้นที่โฟกัสอัตโนมัติไว้สำหรับโหมดพื้นที่ AF (0 โหมดพื้นที่ AF)
-
โฟกัส
วางตำแหน่งวัตถุไว้ในจุดโฟกัสที่เลือกแล้วกดปุ่มกดชัตเตอร์ลงครึ่งหนึ่งเพื่อโฟกัส ตรวจสอบว่าสัญลักษณ์แสดงว่าอยู่ในโฟกัส (I) ปรากฏขึ้นในช่องมองภาพ (การถ่ายภาพโดยใช้ช่องมองภาพ) หรือตรวจสอบว่าจุดโฟกัสเป็นสีเขียว (ไลฟ์วิว)
-
ล็อคโฟกัส
โหมดโฟกัส AF-A และ AF-C (การถ่ายภาพโดยใช้ช่องมองภาพ): กดปุ่มกดชัตเตอร์ลงครึ่งหนึ่งค้างไว้ () แล้วกดปุ่ม A AE-L/AF-L () เพื่อล็อคทั้งโฟกัสและค่าแสง (สัญลักษณ์ AE-L จะปรากฏขึ้นในช่องมองภาพ) โฟกัสจะยังคงล็อคอยู่ขณะกดปุ่ม A AE-L/AF-L แม้ว่าท่านจะยกนิ้วออกจากปุ่มกดชัตเตอร์ในภายหลัง
AF-S (การถ่ายภาพโดยใช้ช่องมองภาพ) และไลฟ์วิว: โฟกัสจะล็อคโดยอัตโนมัติและยังคงล็อคอยู่จนกว่าจะเอานิ้วออกจากปุ่มกดชัตเตอร์ สามารถล็อคโฟกัสได้โดยกดปุ่ม A AE-L/AF-L (ดูด้านบน)
-
การจัดวางองค์ประกอบภาพใหม่แล้วถ่ายภาพ
โฟกัสจะยังคงล็อคอยู่ระหว่างการถ่ายภาพแต่ละภาพถ้าท่านยังกดปุ่มกดชัตเตอร์ลงครึ่งหนึ่งแล้วค้างไว้ (AF-S และไลฟ์วิว) หรือกดปุ่ม A AE-L/AF-L ค้างไว้ ซึ่งทำให้สามารถถ่ายภาพหลายภาพต่อเนื่องกันโดยใช้การตั้งค่าโฟกัสเดียวกัน
อย่าเปลี่ยนระยะห่างระหว่างกล้องและวัตถุที่ต้องการถ่ายขณะใช้การล็อคโฟกัส ถ้าเป้าหมายที่ต้องการถ่ายเคลื่อนที่ไป ให้โฟกัสใหม่อีกครั้งที่ระยะห่างใหม่
โปรดอ่าน
สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ปุ่มกดชัตเตอร์เพื่อล็อคค่าแสง ให้ดู A > การตั้งค่าแบบกำหนดเอง c1 (ล็อค AE เมื่อกดชัตเตอร์, 0 ล็อค AE เมื่อกดชัตเตอร์)
การใช้โฟกัสอัตโนมัติให้ได้ผลดี
โฟกัสอัตโนมัติจะทำงานได้ไม่ดีในสภาวะต่างๆ ที่แสดงด้านล่าง ปุ่มกดชัตเตอร์อาจไม่ทำงานถ้ากล้องไม่สามารถโฟกัสได้ในสภาวะต่อไปนี้ หรือสัญลักษณ์แสดงว่าอยู่ในโฟกัส (I) อาจปรากฏขึ้นและกล้องอาจส่งเสียงเตือน ทำให้สามารถลั่นชัตเตอร์ได้แม้ว่าวัตถุจะไม่อยู่ในโฟกัสก็ตาม ในกรณีเหล่านี้ ให้โฟกัสด้วยตนเอง (0 แมนวลโฟกัส) หรือใช้การล็อคโฟกัส (0 การล็อคโฟกัส) เพื่อโฟกัสวัตถุอื่นที่อยู่ในระยะเดียวกัน จากนั้นจัดองค์ประกอบภาพใหม่
ระหว่างวัตถุและพื้นหลังมีคอนทราสต์น้อยมากหรือไม่มีเลย
ตัวอย่าง: วัตถุที่ต้องการถ่ายมีสีเดียวกันกับพื้นหลัง
จุดโฟกัสมีวัตถุอยู่ในระยะห่างต่างๆ กันจากตัวกล้อง
ตัวอย่าง: วัตถุอยู่ในกรง
วัตถุที่ต้องการถ่ายมีรูปทรงเรขาคณิตสม่ำเสมอข่มอยู่
ตัวอย่าง: มู่ลี่หรือบานหน้าต่างที่เรียงติดกันเป็นแถวบนตึกสูง
จุดโฟกัสมีพื้นที่ที่มีความสว่างซึ่งมีคอนทราสต์สูง
ตัวอย่าง: วัตถุอยู่ในร่มเงาครึ่งหนึ่ง
วัตถุพื้นหลังดูมีขนาดใหญ่กว่าวัตถุ
ตัวอย่าง: ตึกอยู่ในกรอบภาพเบื้องหลังวัตถุ
วัตถุมีรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ เป็นจำนวนมาก
ตัวอย่าง: ทุ่งดอกไม้หรือวัตถุอื่นๆ ที่มีขนาดเล็กหรือมีความสว่างอยู่ในโทนเดียว