การปรับไวต์บาลานซ์แบบละเอียด
(เฉพาะโหมด P, S, A และ M เท่านั้น)
การตั้งค่าอื่นที่นอกเหนือจาก K (เลือกอุณหภูมิสี) สามารถ “ปรับแบบละเอียด” ไวต์บาลานซ์ เพื่อชดเชยสีที่ผิดเพี้ยนของแหล่งกำเนิดแสงหรือเพื่อสร้างภาพที่มีโทนสีตามต้องการ
เมนูไวต์บาลานซ์
การปรับไวต์บาลานซ์แบบละเอียดจากเมนูถ่ายภาพ ให้เลือก ไวต์บาลานซ์ แล้วทำตามขั้นตอนด้านล่าง
-
แสดงผลตัวเลือกการปรับแบบละเอียด
ไฮไลท์ตัวเลือกไวต์บาลานซ์ แล้วกด 2 (หากเมนูย่อยแสดงขึ้นมา ให้เลือกตัวเลือกที่ต้องการแล้วกด 2 อีกครั้งเพื่อแสดงตัวเลือกปรับแบบละเอียด สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับการปรับละเอียดไวต์บาลานซ์ที่ตั้งเอง ให้ดู “การปรับละเอียดไวต์บาลานซ์ที่ตั้งเอง” 0 การปรับไวต์บาลานซ์ที่ตั้งเองล่วงหน้าแบบละเอียด)
-
ปรับไวต์บาลานซ์แบบละเอียด
ใช้ปุ่มเลือกคำสั่งเพื่อปรับไวต์บาลานซ์แบบละเอียด ปรับไวต์บาลานซ์แบบละเอียดได้บนแกนสีเหลือง (A)–น้ำเงิน (B) โดยปรับขั้นละ 0.5 และบนแกนสีเขียว (G)– ม่วงแดง (M) โดยปรับขั้นละ 0.25 แกนแนวนอน (สีเหลือง-น้ำเงิน) จะสอดคล้องกับอุณหภูมิสี ในขณะที่แกนแนวตั้ง (สีเขียว-ม่วงแดง) จะมีผลคล้ายกับการใช้ฟิลเตอร์ ชดเชยสี (CC) แกนแนวนอนจะถูกกำหนดให้เพิ่มขึ้นทีละขั้นเทียบเท่ากับประมาณ 5 ไมเรด แกนแนวตั้งจะเพิ่มขึ้นประมาณ 0.05 หน่วยความหนาแน่นแบบแพร่กระจาย
-
กด J
กด J เพื่อบันทึกการตั้งค่าและกลับไปที่เมนูถ่ายภาพ
ปุ่ม L (U)
ที่การตั้งค่าใดๆ นอกเหนือจาก K (เลือกอุณหภูมิสี) และ L (ตั้งค่าเอง) สามารถใช้ปุ่ม L (U) เพื่อปรับไวต์บาลานซ์แบบละเอียดบนแกนเหลือง (A)–น้ำเงิน (B) (0 เมนูไวต์บาลานซ์; ในการปรับไวต์บาลานซ์แบบละเอียดเมื่อเลือก L ให้ใช้เมนูถ่ายภาพตามที่อธิบายไว้ใน “การปรับละเอียดไวต์บาลานซ์ที่ตั้งเอง”, 0 การปรับไวต์บาลานซ์ที่ตั้งเองล่วงหน้าแบบละเอียด) กดปุ่ม L (U) แล้วหมุนแป้นหมุนเลือกคำสั่งย่อยเพื่อปรับไวต์บาลานซ์แบบละเอียด โดยปรับขั้นละ 0.5 (เพิ่มค่าแบบเต็มแต่ละขั้นเทียบเท่ากับ 5 ไมเรดโดยประมาณ) จนกระทั่งค่าที่ต้องการแสดงขึ้น การหมุนแป้นหมุนเลือกคำสั่งย่อยไปทางซ้ายจะเพิ่มปริมาณสีเหลือง (A) การหมุนแป้นหมุนเลือกคำสั่งย่อยไปทางขวาจะเพิ่มปริมาณสีน้ำเงิน (B)
ไลฟ์วิว
ในโหมดไลฟ์วิว ค่าที่เลือกจะแสดงขึ้นในหน้าจอ
การปรับไวต์บาลานซ์แบบละเอียด
หากปรับค่าไวต์บาลานซ์แบบละเอียดแล้ว เครื่องหมายดอกจัน (“E”) จะปรากฏถัดจากการตั้งค่าไวต์บาลานซ์ โปรดทราบว่า สีบนแกนการปรับแบบละเอียดเป็นสีเชิงสัมพัทธ์ ไม่ใช่สีตายตัว ตัวอย่างเช่น การเลื่อนเคอร์เซอร์ไปที่ B (น้ำเงิน) เมื่อเลือกการตั้งค่าไวต์บาลานซ์เป็น “อุ่น” เช่น J (หลอดไส้) จะทำให้ภาพถ่ายดู “เย็นลง” เล็กน้อย แต่จะไม่ทำให้กลายเป็นสีน้ำเงิน
“ไมเรด”
การเปลี่ยนแปลงใดๆ ในอุณหภูมิสีจะเห็นความแตกต่างที่อุณหภูมิสีต่ำได้มากกว่าที่อุณหภูมิสีสูง ตัวอย่างเช่น การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิไป 1000 K จะทำให้เกิดความแตกต่างในสีที่ 3000 K ได้มากกว่าที่ 6000 K มาก ค่าไมเรดซึ่งคำนวณโดยการนำ 10 6 คูณกับส่วนกลับของอุณหภูมิสีนั้น คือการวัดอุณหภูมิสีที่ได้คำนึงถึงความแปรผันดังกล่าวนี้ ดังนั้นจึงเป็นหน่วยที่ใช้ในฟิลเตอร์ชดเชยอุณหภูมิสี ตัวอย่าง:
- 4000 K–3000 K (ผลต่างเท่ากับ 1000 K)=83 ไมเรด
- 7000 K-6000 K (ผลต่างเท่ากับ 1000 K)=24 ไมเรด
โปรดอ่าน
สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับไวต์บาลานซ์ที่แตกต่างกันใน “การถ่ายคร่อม” ค่าปัจจุบัน ให้ดู “การถ่ายคร่อม” (0 การถ่ายคร่อมไวต์บาลานซ์)